Recent Post

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ใครเป็นบ่อยๆ รู้สึกเจ็บส้นเท้า ฝ่าเท้า ในตอนเช้า หรือตอนที่ลุกขึ้นยืน มาดูวิธีป้องกัน

ชาวอเมริกันมากกว่าครึ่งต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการปวดเท้า อาการเช่นนี้เรียกว่า เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis) และความเจ็บปวดนี้ก่อให้เกิดพังพืดที่เท้า

อาการเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบเกิดจากอะไร?
– การเคลื่อนไหวซ้ำๆ
– น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น
– ความอ้วน
– การตั้งครรภ์
– การยืนอยู่กับที่นานๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ต้องยืนเป็นเวลานานๆ หลังเคาน์เตอร์หรือพนักงานขาย สามารถนำไปสู่การอักเสบและความเจ็บปวด
วิธีป้องกันอาการเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรืออาการปวดส้นเท้า
อาการปวดส้นเท้าสามารถป้องกันได้โดยท่าบริหารร่างกาย และมันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้วิธีการคลายกล้ามเนื้อที่ปวดตึงเพื่อไม่ให้อาการแย่ลง
วอร์มร่างกาย
คุณต้องวอร์มร่างกายให้อุ่นขึ้นเสียก่อน ก่อนที่คุณจะออกกำลังกายหรือทำการกายภาพใดๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเจ็บปวดการออกกำลังกายในตอนเช้าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ด้วยการเหยียดตัวเพื่อยืดข้อต่อและกล้ามเนื้อของคุณ ป้องกันการตึงของเส้นเอ็น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายทุกวันเป็นประจำ ช่วยยืดข้อต่อและกล้ามเนื้อของคุณโดยเฉพาะส่วนขาและข้อเท้าของคุณ
รักษาน้ำหนักของคุณ
รักษาน้ำหนักของคุณอย่างสม่ำเสมอและกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
สวมรองเท้าที่เหมาะสม
ควรสวมรองเท้าที่ช่วยพยุงข้อเท้าและมีพื้นรองรองเท้าที่นุ่มสบาย อย่าเดินเท้าเปล่าหรือการออกกำลังกายเท้าเปล่า เพราะจะทำให้เกิดแรงกดบนส้นเท้าของคุณ นี่คือท่าออกกำลังกายที่ดีในการสร้างความแข็งแรงให้กับส้นเท้าของคุณ
ท่า Calf Stretches
ยื่นขาข้างหนึ่งของคุณออกไปข้างหน้าและค้างไว้ประมาณ 30 วินาที หลังตรงไม่โค้งงอ ทำซ้ำสามครั้งกับขาอีกข้าง
ท่า Toe and foot stretches

นั่งไขว้ขาและดึงนิ้วหัวแม่เท้าขึ้นมาให้สูงที่สุด ทำค้างไว้เป็นเวลา 15 วินาที และทำซ้ำสามครั้งกับขาอีกข้าง
ท่า Ankle stretches
นอนเหยียดตัวตรงและใช้ผ้าขนหนูสำหรับการออกกำลังกายนี้ โดยใส่ผ้าขนหนูเข้าไปใต้เท้าและยืดเท้าออกไปข้างหน้า ทำค้างไว้ 15-30 วินาที ทำซ้ำสามครั้งกับขาอีกข้าง
ท่า Rolling
ใช้ขวดน้ำหรืออะไรก็ได้ที่คล้ายกัน จากนั้นนั่งลงนำขวดน้ำวางไว้ใต้ฝ่าเท้าของคุณ และใช้เท้าของคุณกลิ้งวัตถุนั้นประมาณ 1 นาที
มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดูแลเพราะคุณใช้เท้าของคุณอยู่ตลอดเวลา เพราะเท้าทำงานหนักอีกทั้งยังต้องแบกน้ำหนักตัวของคุณอยู่ตลอด คุณควรลดการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ถ้าเป็นนักกีฬาควรมีการยืด ผ่อนคลาย และพักบ้างระหว่างการเล่นกีฬา และสำหรับคนทำงาน ควรนั่งในท่าที่เหมาะสม มีการยืดและผ่อนคลายระหว่างการทำงาน ดูแลเท้าและร่างกายของคุณจะช่วยป้องกันอาการปวดส้นเท้า
อ้างอิง : timefornaturalhealthcare.com

แปลข้อมูลโดย :  rak-sukapap.com

0

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562


ประโยชน์ของการแกว่งแขน ที่ไม่ได้มีดีแค่ลดพุง แต่ช่วยรักษาโรคได้เพียบ!!

หลายคนคงสงสัย “แค่ยืนแกว่งแขนเฉยๆ จะให้ผลลัพธ์ที่ดีเลิศแก่ร่างกายได้อย่างไร?” คำถามนี้เป็นคำถามที่ดีมาก และตอบตรงนี้เลยว่าไม่ใช่แค่พุงที่ยุบลงไปเท่านั้น แต่การแกว่งแขนยังมีประโยชน์มากมายอีกเพียบ อยากรู้ว่าคืออะไร และวิธีการแกว่งแขนที่ถูกต้องต้องทำอย่างไร ตามมาดูได้เลย

ประโยชน์ของการแกว่งแขน

1. ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก

แพทย์จีนแผนโบราณเชื่อว่า…สิ่งที่เป็นปัญหาสุขภาพภายในร่างกายเกิดมาจาก “เลือดลม” เป็นหลัก เพราะหากเลือดลมภายในร่างกายของเราผิดปกติ โรคต่างๆ มากมายก็จะถาโถมเข้ามา แต่ “การแกว่งแขน” นี่ละที่จะช่วยให้เลือดลมภายในไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น และไม่ติดขัดเอาได้ง่ายๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยเปลี่ยนสภาพอวัยวะที่ผิดปกติให้กลับมาเป็นแข็งแรงอีก ครั้งได้อย่างแน่นอน

2. ระบบน้ำเหลืองทำงานได้ดีขึ้น

บริเวณรักแร้ คือ ชุมทางของต่อมน้ำเหลือง การกระตุ้นให้น้ำเหลืองไหลเวียนดีขึ้นด้วยการแกว่งแขน พร้อมๆไปกับการหายใจลึกๆ จะช่วยให้ต่อมน้ำเหลืองได้ขยับ และทำให้น้ำเหลืองไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อระบบน้ำเหลืองทำงานได้ดี  ม้าม ต่อมทอนซิล ต่อมไธมัส ท่อน้ำเหลือง ซึ่งเป็นระบบที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อทำความสะอาด ขนถ่ายของเสียและพิษที่สะสมในร่างกาย ก็จะทำงานได้ดีขึ้นด้วย

3. เพิ่มภูมคุ้มกันร่างกาย

เมื่อระบบน้ำเหลืองดี การสร้างเม็ดเลือดขาวแอนตี้บอดี้ของระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำงานได้ดีขึ้น  ทำให้อาการเจ็บป่วยที่คุณกำลังเป็นอยู่ทุเลาลง หรือมีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้นได้นั่นเอง

4. ช่วยลดน้ำหนัก

การขยับร่างกายไปมา ย่อมทำให้คุณใช้พลังงานได้มากยิ่งขึ้น เผาผลาญพลังงานได้ดี และช่วยลดความอ้วนได้นั่นเอง แกว่งแขนต่อกัน แค่ 10 นาที ก็ช่วยลดพุงได้แล้ว

5. ลดความดันโลหิตสูง ลดการสะสมของไขมัน รักษาน้ำตาลในกระแสเลือด ชะลอการเสื่อมของเข่า และลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่จากออฟฟิศซินโดรม
การแกว่งแขนติดต่อกันแค่ 10 นาที ให้ประโยชน์ต่อคุณแค่เพียงเรื่องการออกกำลังกายเท่านั้น แต่หากต้องการบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บ ลดความดันโลหิตสูง ลดไขมัน รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ชะลอการเสื่อมของเข่า ลดอาการปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล ควรจะต้องทำติดต่อกันให้นานกว่านั้นและทำบ่อยๆ

6. ลดไขมันท้องแขน

หากใครคนไหนมีท้องแขนย้วย ไขมันย้อย อยากจะลดแขนด้วยการแกว่งแขนก็สามารถทำได้ แต่ให้เพิ่มน้ำหนักด้วยดัมเบลหรือขวดน้ำขนาดพอดีมือเข้าไปหน่อย รับรองว่าทั้งสุขภาพดีแล้วมีแขนเรียวได้แน่นอน

เตรียมตัวก่อนแกว่งแขน

1. สวมเสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่นเกินไป
2. อบอุ่นร่างกายด้วยการสะบัดแขน มือ และเท้าสักครู่ พร้อมหมุนศีรษะ เพื่อให้กล้ามเนื้อและร่างกายผ่อนคลาย และพร้อมต่อการแกว่งแขน การเตรียมพร้อมที่ดีจะช่วยให้ได้รับประโยชน์จากการแกว่งแขนที่มากขึ้น

วิธีการแกว่งแขนที่ถูกต้อง

การแกว่งแขนให้ได้ประโยชน์ต้องทำอย่างถูกวิธี ดังต่อไปนี้

 1. ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกันประมาณช่วงไหล่ ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างลงข้างลำตัว ไม่เกร็ง แต่เรียงนิ้วมือให้ชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหลัง

2. หดท้องน้อยเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลัง ผ่อนคลายกระดูกลำคอ ศีรษะ และปาก

3. จิกปลายนิ้วเท้าไปกับพื้น ส่วนส้นเท้าก็ให้ออกแรงเหยียบลงบนพื้นให้แน่น แรงจนรู้สึกกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง

4. สายตามาองตรงไปยังจุดใดจุดหนึ่ง ตั้งสมาธิให้ดี สลัดความกังวลหรือความนึกคิดต่างๆ ออกให้หมด รวทสมาธิเอาไว้ที่เท้าเท่านั้น

5. ยกมือแกว่งแขนไปข้างหน้าเบาๆ  แกว่งแขนให้ทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา นับจำนวนครั้งไปเรื่อยๆ อย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำแขนด้วย
ส่วนเวลาแกว่งแขนกลับไปด้านหลังให้ออกแรงมากหน่อย โดยให้ความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ 60 องศา

จะเห็นได้ว่า การแกว่งแขนอยู่กับที่ก็มีประโยชน์ไม่น้อย ดีกว่านั่งเพลินๆดูโทรทัศน์ ปากเคี้ยวขนมเป็นไหนๆ ทำน้อยก็ได้แค่การออกกำลังกาย แต่ถ้าทำมากก็ช่วยป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี ถ้ามือของคุณกำลังว่างอยู่มาแกว่งแขนไปกับเราเถอะค่ะ จะได้มีทั้งหุ่นที่สวยไปพร้อมๆกับสุขภาพดีๆที่หาซื้อที่ไหนไม่ได้เลย
0

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562


หนุ่มสาววัยทำงานเกือบทุกคนคงต้องเคยเผชิญ กับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่นปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือหลัง ถ้าอาการดังกล่าวสามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน เมื่อพักผ่อน ทายา หรือทานยา อาการปวดดังกล่าว ก็ไม่เป็นปัญหา
แต่ถ้าอาการปวดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการเพิ่มความรุนแรงและความถี่ขึ้นเรื่อยๆ ให้สงสัยได้เลยว่าคุณได้มีอาการ ของ ”โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ Myofascial Pain Syndrome” แล้ว ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา ให้ถูกวิธี จะทำให้มีอาการมากขึ้น จนเกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน โรคความดัน โลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โครงสร้างร่างกายผิดปกติ เป็นต้น
ปัจจุบันมี ประชากรกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน ที่ต้องนั่งทำงานและใช้ คอมพิวเตอร์นานๆ โดยสาเหตุที่ทำให้มีการปวดมีอาการเรื้อรัง เกิดจากการหดเกร็ง สะสมของกล้ามเนื้อ จนเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. ที่เรียกว่า Trigger Point หรือจุดกดเจ็บ จำนวนมาก ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อ พังพืด การเกิด Trigger Point ทำให้กล้ามเนื้อนั้นขาดเลือดและออกซิเจน เข้าไปเลี้ยง จนทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณที่มี Trigger Point โดยการอักเสบ ของ Trigger Point จะส่งอาการปวดไปที่กล้ามเนื้อบริเวณจุดรวมของ Trigger Point และบริเวณใกล้เคียง
การรักษาด้วย การทานยา ทายา การนวด หรือการใช้ความร้อน เพียงทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนมีการ คลายตัว แต่ไม่สามารถสลายจุด Trigger Point ได้ ดังนั้นอาการปวดเพียงดีขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้น 2-3 วัน ก็จะกลับมาปวดอีก เนื่องจากยังมีการอักเสบของจุด Trigger Point ภายในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืดยังมีอยู่
อาการที่แสดงออกเด่นชัดของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง คือ
มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยอาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมานจนไม่ สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้
บางกรณีมีอาการชา มือและขาร่วมด้วย บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ
มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่นไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอตก ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง คือ
ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม
ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ เช่นการใช้คอมพิวเตอร์
การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ
การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
การขาดดูแลและการบริหารกล้ามเนื้อ
ในปัจจุบัน การรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ MPS สามารถรักษาได ้ โดยวิธีการรักษา ที่เรียกว่า “Trigger Point Therapy” ซึ่งใช้การรักษาเพียงอาทิตย์ละครั้ง ประมาณ 4-6 ครั้ง ก็สามารถทำให้อาการปวดเรื้อรังที่รบกวนอยู่ทุกวันหายได้
หลักในการรักษาแบบ Trigger Point Therapy คือ
ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ รักษาที่สาเหตุของการปวดแบบเรื้อรัง โดยการสลาย Trigger Point
ป้องกันการกลับมาของ Trigger Point โดยการให้ความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง และการดูแลกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี
การรักษาแบบ Trigger Point Therapy แบ่งการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
การสอบถามประวัติการปวด และตรวจหาจุด Trigger Point ที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืด
การทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนเหนือ Trigger Point ที่มีการหดเกร็ง คลายตัวลงเพื่อลดอาการปวด
เมื่อ การเกร็งคลายลง แพทย์จะใช้การกดจุด กดไปที่จุด Trigger Point ที่อยู่ในบริเวณที่ปวด เพื่อทำให้เกิดการคลายตัว และเพื่อนำเลือดและออกซิเจน ไปที่จุด Trigger Point เพื่อลดการอักเสบ
หลังการรักษา 4-6 ครั้ง จุด Trigger Point จะคลายตัวลง เป็นกล้ามเนื้อปกติ จนไม่สามารถใช้มือตรวจเจอได้ จะทำให้วัฐจักรการปวดสิ้นสุดลง
อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง กลับมาเป็นอีก ผู้ป่วยต้องดูแลและบริหาร กล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และมาพบแพทย์อายุรเวทเพื่อตรวจสภาพกล้ามเนื้อ ปีละครั้ง ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
0

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561


แท่นยืนเพื่อสุขภาพ แท่นยืนคลายเส้นหรือเก้าอี้มหัศจรรย์ สำหรับผู้ที่มีปัญหาอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ แก้อาการได้ด้วยตัวเอง ออกกำลังกายทุก ๆ เช้า เย็น เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ด้วยแท่นยืนสุขภาพคลายเส้น ทำวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ครั้งละ 10 นาที ช่วยการไหลเวียนของเลือด แก้ปวดเมื่อย มีวิธีแนะนำใช้แท่นยืนคลายเส้นง่าย ๆ เพื่อดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเอง
✔️ บรรเทาอาการปวดหลัง
✔️ ปวดเอว คอ บ่า และไหล่
✔️ ช่วยยืดผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เกิดจากหินปูนและพังผืด
✔️ คลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อขา
✔️ คลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อหลัง
✔️ ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีขึ้น
✔️ การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
✔️ การปวดเกร็งของเส้นเอ็น
✔️ กล้ามเนื้อยืดเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้า ข้อพับหัวเข่า สะโพกด้านหลังและส่วนที่ต่อกัน
น้ำหนัก5 กิโลกรัม
ราคา 680 บาท
จัดส่งฟรีทั่วประเทศ
## สอบถาม / สั่งซื้อ ##
▶️ทักกด https://line.me/R/ti/p/%40ksm0064p
▶️Inbox : http://m.me/healthyforlifeall  
▶️เว็ปไซต์ https://healthyforlifeall.blogspot.com
▶️วีดิโอการใช้ : https://www.youtube.com/channel/UCN7B8B68u1GS7uBJfR6-VeQ


0

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


แท่นยืนคลายเส้นเพื่อสุขภาพ เก้าอี้มหัศจรรย์ บรรเทาอาการปวดขา ปวดฝ่าเท้า ปวดหลัง ปวดเอว คอ บ่า และไหล่ ช่วยยืดผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เกิดจากหินปูนและพังผืด คลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อขารวมถึงกล้ามเนื้อหลังทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีขึ้น การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น การปวดเกร็งของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อยืดเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้า ข้อพับหัวเข่า สะโพกด้านหลังและส่วนที่ต่อกัน
คุณสมบัติ
- แป้นยืนกายภาพ แท่นยืนคลายเส้น ยืดเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้า ข้อพับหัวเข่า สะโพกด้านหลังและส่วนที่ต่อกัน
- ช่วยยืดผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เกิดจากหินปูนและพังผืด และคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อขารวมถึงกล้ามเนื้อหลัง
- ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีขึ้น การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น การปวดเกร็งของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ รวมถึงเส้นเลือดขอดจะบรรเทาลงได้ การเคลื่อนไหวและการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งานในอิริยาบทต่างๆจะดีขึ้นตามมา
- แท่นยืนยืดคลายเส้นเอ็น สามารถปรับได้ถึง 2 ระดับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยืดคลายเส้น
- สามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 120 Kg.
- แท่นยืนคลายเส้นพับเก็บได้เพื่อประหยัดพื้นที่
- ทำในช่วงเวลาก่อนนอนและหลังตื่นนอนซึ่งเป็นช­่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพียงครั้งละ 5-15 นาที ในช่วงแรกๆจะรู้สึกปวดตึงที่น่อง แต่หากทำไปสักระยะ เส้นสายภายในร่างกายจะเริ่มผ่อนคลาย สบายตัว
- แท่นยืนยืดคลายเส้นเอ็น แป้นยืนกายภาพ ไม่เพียงแต่จะช่วยยืดเส้นยืดสายทำให้ช่วยบรรเทาอาการปว­ดเข่า ปวดน่อง ปวดหลัง ปวดคอ
- ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาตและลดการเป็นตะคริว เหน็บชา เมื่อใช้เป็นประจำจะทำให้อาการปวดเมื่อยหายไป
- เลือดลมไหลเวียนสะดวก ทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะถูกยืดคลายพร้อมที­่จะรองรับการทำงาน สบายตัวตลอดทั้งวัน
จัดส่งฟรีทั่วประเทศ 
ราคา 680 บาท

0

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

มาออกกำลังกายกันดีกว่า ท่าง่าย ๆ  เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องการบริหารร่างกาย  เพื่อลดอาการปวดเมื่อย  เส้นตึง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดแขน ปวดขา มาดูว่ามีท่าอะไรบ้าง


ท่าที่ 1 เหยียดคอ
1. เอียงศีรษะลงด้านซ้าย หรือด้านขวาก่อน พยายามให้ใบหูใกล้หัวไหล่มากที่สุด
ขาว : ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ซ้าย : ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
2. ก้มศีรษะพยายามให้คางจรดหน้าอก ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง


ท่าที่ 2 ยกแขน ยกแขนขึ้นด้านข้างเหนือศีรษะ หยุดประมาณ 2 วินาที แล้วดึงมือกลับวางบนที่วางแขน ขวา : ทำซ้ำ 10 ครั้ง ซ้าย: ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทำ 2 ข้างพร้อมกัน ทำซ้ำ 10 ครั้ง


ท่าที่ 3 กรรเชียง
นั่งตัวตรง เหยียดแขนซ้ายตรงไปข้างหน้า จากนั้นงอข้อศอก ดึงแขนกลับมาอยู่ข้างลำตัว
แขนขวา : ทำซ้ำ 10 ครั้ง
แขนซ้าย : ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ทำสองแขนพร้อมกัน : ทำซ้ำ 10 ครั้ง


ท่าที่ 4 เหยียดหลัง นั่งแยกเข่า เอามือวางที่ด้านข้างทั้งสองของหัวเข่า จากนั้นค่อย ๆ เลื่อนมือลงไปจนถึงข้อเท้า แล้วเลื่อนกลับพร้อมยกลำตัวขึ้นตั้งตรง เข่าซ้าย : ทำซ้ำ 10 ครั้ง เข่าขวา : ทำซ้ำ 10 ครั้ง


ท่าที่ 5 เหยียดข้อเท้า กระดกข้อเท้าขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จากนั้นจิกปลายเท้าลงให้มากที่สุด ทำซ้ำๆ 20 ครั้ง หมุนข้อเท้าตาเข็มนาฬิกา 20 ครั้ง หมุนข้อเท้าทวนเข็มนาฬิกา 20 ครั้ง จะทำทีละข้างหรือสองข้างตามใจชอบ

ท่าที่ 6 เหยียดเข่า เหยียดเข่าขึ้นมาให้ตรง หยุดและเกร็ง แล้วดึงเท้ากลับวางบนพื้น ขวา: ทำซ้ำ 10 ครั้ง ซ้าย : ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 7 เตะเท้า เตะเท้าขึ้นลงโดยการเกร็งและงอเข่า ขวา : ทำซ้ำ 10 ครั้ง ซ้าย : ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 8 นั่งสวนสนาม ยกเข่าขึ้นลงสลับกัน พยายามยกเข่าให้สูง ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้

ท่าที่ 9 เหยียดน่อง มือสองข้างจับขอบโต๊ะหรือพนักเก้าอี้ ก้าวเท้าซ้ายถอยไปข้างหลัง 1 ก้าวยาว ให้เข่าซ้ายเหยียดตรงปลายเท้าตรงไปข้างหน้า ค่อย ๆ โน้มตัวไปข้างหน้า งอเข่าขวา พยายามให้ส้นเท้าซ้ายติดพื้นตลอดเวลา ขาขวา : ค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำ 4 ครั้ง ขาซ้าย : ค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำ 4 ครั้ง
ท่าที่ 10 เขย่งปลายเท้าสลับยืนบนส้น ยืนตัวตรง แยกเท้า 2 ข้าง มือข้างหนึ่งจับพนักเก้าอี้เพื่อช่วยพยุง ยืนเขย่งปลายเท้าค้างไว้เล็กน้อย แล้วลงกับที่เดิม จากนั้นยกปลายเท้าขึ้น ยืนบนส้น หยุดค้าง แล้วกลับที่เดิม ทำสลับกัน 10 ครั้ง

ท่าที่ 11 เหวี่ยงขาออกข้าง ยืนตัวตรงจับพนักเก้าอี้ ยกขาซ้ายออกไปด้านข้าง ปลายเท้าชี้ไปข้างหน้า เข่าเหยียด เอวตั้งตรงไม่เอียง ขาขวา : ทำซ้ำ 10 ครั้ง ขาซ้าย : ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 12 ย่อเข่า ยืนจับพนักเก้าอี้ งอ (ย่อ) เข่าทั้งสองข้างลงในท่านั่งสบาย ให้หลังและศีรษะตั้งตรง โดยอยู่หลังปลายเท้า เหยียดเข่ายืนขึ้นสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 13 งอและเหยียดสะโพก ยืนจับพนักเก้าอี้ งอเข่าซ้ายยกขึ้นมาให้ใกล้หน้าอก พยายามอย่าให้ลำตัวงอ หย่อนขาซ้ายลง แล้วเหวี่ยงไปด้านหลัง ให้เข่าเหยียดตรง ดึงขากลับสู่ท่าเริ่มต้น ขาขวา : ทำซ้ำ 10 ครั้ง ขาซ้าย : ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 14 โยกลำตัว ยืนแยกเท้ากว้างพอประมาณ โยกหรือเอียงลำตัวไปด้านขวา แล้วกลับมาด้านซ้าย สลับไปมาพยายามยืนให้ตรงที่สุดเท่าที่ทำได้ ทำซ้ำ 10 ครั้ง



ขอบคุณข้อมูล
นายแพทย์สมชาย ลี่ทองอิน
ผู้อำนวยการกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข










0

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


แท่นยืนหรือเก้าอี้มหัศจรรย์ แท่นเก้าอี้ยืนยืดเส้น คลายปวดเมื่อย มี 2 ระดับปรับได้ บริหารได้หลายท่าคลายเส้นตึง

ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยPBS




0

author เก้าอี้มหัศจรรย์หรือแท่นยืนเพื่อสุขภาพ ยืดเส้น ปวดหลัง ปวดขา

Add Friend กดทัก แท่นยืนเพื่อสุขภาพ